การพัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูฐานสมรรถนะ ของนักศึกษา
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูฐานสมรรถนะของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ 1. เพื่อสังเคราะห์รูปแบบและ 2. เพื่อประเมินคุณภาพของรูปแบบ ที่ได้จากการสังเคราะห์ 1) การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูโดยกระบวนการศึกษาสังเกตและการมีส่วนร่วมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 2) การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูโดยกระบวนการทดลองสอน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 3) การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูโดยกระบวนการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ของนักศึกษาในการวิจัย เป็น (ร่าง) รูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูฐานสมรรถนะ ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และแบบประเมินคุณภาพของรูปแบบมีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.67-100 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า การสังเคราะห์รูปแบบ ได้รูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู POET-Professional Model ที่มีองค์ประกอบ การเตรียมการ การศึกษาสังเกตและมีส่วร่วม กระบวนการทดลองสอน การฝึกประสบการณ์สอนในสถานศึกษา และการประเมินสมรรถนะวิชาชีพครู รูปแบบผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด (x ̅= 4.78) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยความถูกต้อง (x ̅= 4.77) ความเหมาะสม (x ̅= 4.83) ความเป็นไปได้ (x ̅= 4.80) และความเป็นประโยชน์ (x ̅= 4.74)
References
จักรแก้ว นามเมือง. (2555). บุคลิกภาพและลักษณะการสอนที่ดี. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ (ฉบับพิเศษ). 33-36.
ชนันภรณ์ อารีกุลและคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 บนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพเชิงพุทธบูรณาการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ทัศณรงค์ จารุเมธีชน. (2556). การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
ทัศนา ประสานตรี. (2555).การพัฒนารูปแบบความเป็นครูของนักศึกษามหาวิทยาลัยนครพนม.คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนครพนม.
บุญชม ศรีสะอาด.(2545).การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพ:สุวีริยาสาส์น.
ประมุข กอปรสิริพัฒน์. (2548). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ตามหลักสูตรการปฏิรูปการฝึกหัดครูขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ลัดดาวัลย์ สืบจิต.(2556).การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาสารคราม,หลักสูตรและวิธีสอนคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร).
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ:สุวิริยสาส์น.
ศรีสว่าง เลี้ยววาริน. (2555). วารสาร กศน. กรุงเทพฯ: นำทองการพิมพ์ จำกัด.
Byerly,Steven.(2001).Linking Classroom Teaching to the Real World Through Experiential Instruction. Phi De Lta Kappan, 82 697.
Copyright (c) 2021 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.