องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยทางจริยธรรมและคุณลักษณะทางจริยธรรมตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทยของนักศึกษาสื่อสารมวลชน
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยทางจริยธรรมและคุณลักษณะทางจริยธรรมนักศึกษาสื่อสารมวลชนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ทำงานด้านสื่อสารมวลชน จำนวน 800 และทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางจริยธรรมของนักศึกษาสื่อสารมวลชน มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมีค่าเป็นบวก 22 ปัจจัย จาก 23 ปัจจัย โดยมีค่าน้ำหนักระหว่าง .513-1.004 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านสติปัญญา ด้านประสบการณ์ทางสังคม ด้านสุขภาพจิต ด้านเหตุผลทางจริยธรรม ด้านมุ่งอนาคตและควบคุมตนเอง ด้านความเชื่ออำนาจในตน ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านทัศนคติ คุณธรรม และค่านิยม ด้านพฤติกรรมพัฒนาสังคม ด้านพฤติกรรมของพลเมืองดี ด้านพฤติกรรมการทำงาน ด้านพฤติกรรมของคนดีและคนเก่ง ด้านพฤติกรรมสุขภาพ ด้านพฤติกรรมการขยันเรียนรู้ ด้านจิตเชี่ยวชาญ ด้านจิตรู้สังเคราะห์ ด้านจิตสร้างสรรค์ ด้านจิตรู้เคารพ ด้านจิตรู้จริยธรรม ด้านความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม ด้านความสามารถในการปรับวิถีชีวิตในความขัดแย้งทางค่านิยม และด้านการพัฒนานิสัยและการปฏิบัติตนตามศีลธรรมทั้งในเรื่องส่วนตัวและสังคม
References
คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
จุรีพร กาญจนการุณ. (2552). คุณธรรม จริยธรรม และการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.). วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม. 1(1) มกราคม-มิถุนายน, 95-109.
นงค์นาถ ห่านวิไล. (2561). แนวทางการเสริมสร้างจริยธรรมสื่อมวลชนไทย เชิงพุทธบูรณาการ. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. 36(1) มกราคม-เมษายน, 135-155.
พสุกานต์ บุญส่ง. (2561). ปัจจัยที่มีต่อการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของสื่อออนไลน์ใน การน าเสนอข่าวการละเมิดทางเพศเด็ก. การค้นคว้าอิสระาตามหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พัชรี ถุงแก้ว และฉันทนา กล่อมจิตร. (2554). ปัจจัยเชิงเหตุด้านจิตลักษณะที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 5(1) มกราคม-มีนาคม, 80-88.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วย AMOS. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชระ จิรฐิติกาลกิจ และจิตระพี ทรัพย์แสนด. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเสรีภาพหนังสือพิมพ์จากการรับรู้ของนักหนังสือพิมพ์ไทย. วารสารนิเทศศาสตร์. 33(2) กรกฎาคม-ธันวาคม, 1-20.
อำนวย ทองโปร่ง. (2560). การพัฒนาคนในระบบการจัดการศึกษา. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 7(2) พฤษภาคม-สิงหาคม, 1-16.
Hair, J. F. et al. (2010). [online]. Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. Available [July 25, 2017] from http://staffweb.hkbu.edu.hk/vwschow/lectures/ism3620 /rule.pdf
Copyright (c) 2021 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.